กะบังลม (อังกฤษ: Diaphragm หรือ Thoracic diaphragm) เป็นแผ่นของกล้ามเนื้อโครงร่างในร่างกาย[2]ขึงอยู่ด้านล่างของซี่โครง กะบังลมกั้นระหว่างช่องอก (ประกอบด้วยหัวใจ ปอด และซี๋โครง เป็นต้น) และช่องท้อง ทำหน้าที่สำคัญในการหายใจ ในทางกายวิภาคศาสตร์กะบังลมบางครั้งอาจหมายถึงโครงสร้างแบนอื่นๆ เช่น กะบังลมเชิงกรานหรือฐานเชิงกราน (pelvic diaphragm; เช่นในโรค “กะบังลมหย่อน” ที่หมายถึงการหย่อนของฐานเชิงกรานทำให้ทวารหนัก มดลูก หรือกระเพาะปัสสาวะยื่นออกมานอกช่องคลอด) แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า “กะบังลม” หมายถึงกะบังลมหน้าอก สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นเช่นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีกะบังลมหรือโครงสร้างคล้ายกะบังลมแต่มีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตำแหน่งของปอดในช่องท้อง เป็นต้น

- กะบังลม (Diaphragm) เป็นกล้ามเนื้อชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายร่มชูชีพที่กั้นระหว่างส่วนอกและส่วนท้อง ทำหน้าที่เป็นพื้นของช่องอกและเพดานของช่องท้อง
- กะบังลมยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจเป็นหลัก โดยจะหดตัวเพื่อลดความดันในช่องอกเพื่อให้อากาศไหลเข้าช่องอก เมื่อกะบังลมคลายตัว อากาศก็จะไหลออกตาม
- นอกจากการใช้กล้ามเนื้อกะบังลมสำหรับการหายใจเข้า หรือการเค้นหายใจออกเท่านั้น แต่ยังใช้ในการไอ การจาม การอาเจียน การปัสสาวะ การถ่ายอุจจาระ (ช่วยในการขยับลำไส้) และการคลอดบุตรด้วย
- การหายใจโดยใช้กะบังลมเป็นวิธีที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกะบังลมได้ เพื่อที่ร่างกายจะสามารถหายใจเอาอากาศเข้า-ออก มากขึ้น วิธีนี้จะทำให้กล้ามเนื้ออกไม่เหนื่อยล้าเกินไปและทำให้ไม่รู้สึกจุกเสียดบริเวณชายโครง
- หากพบว่า ตนเองมีความผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจ เช่น กะบังลมเคลื่อนที่ขึ้นขณะหายใจเข้า และเคลื่อนที่ลงขณะหายใจออก ทำให้หายใจไม่อิ่ม ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
กะบังลม (Diaphragm) เป็นกล้ามเนื้อชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายร่มชูชีพที่กั้นระหว่างส่วนอกและส่วนท้อง กะบังลมทำหน้าที่เป็นพื้นของช่องอกและเพดานของช่องท้อง เข้าใจความผิดปกติของกะบังลมได้ไม่ยาก

วิธีสร้างความแข็งแรงให้กับกะบังลม
โดยปกติแล้วคนเราจะหายใจผ่านกล้ามเนื้อซี่โครงเป็นหลัก ดังนั้นการหายใจโดยใช้กะบังลมจึงเป็นวิธีที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกะบังลมได้ เพื่อที่ร่างกายจะสามารถหายใจเอาอากาศเข้า-ออก มากขึ้น
การหายใจโดยใช้กะบังลมยังไม่ทำให้กล้ามเนื้ออกเหนื่อยล้าเกินไปและทำให้ไม่รู้สึกจุกเสียดบริเวณชายโครง จึงเหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่เป็นนักกีฬาประเภทวิ่ง
แต่วิธีหายใจโดยใช้กะบังลมจำเป็นต้องมีการฝึกฝนไม่ได้ง่ายนัก แต่หากทำได้ก็จะส่งผลต่อดีต่อร่างกายและทำให้กะบังลมแข็งแรงขึ้น
วิธีหายใจมีดังนี้
- เวลาหายใจเข้า ให้หายใจให้หน้าท้องพอง หรือขยายตัว หมายถึง กะบังลมของเรากำลังเคลื่อนตัวลง
- เวลาหายใจออก ให้หายใจให้หน้าท้องยุบลง เพื่อให้กล้ามเนื้อกะบังลมเคลื่อนตัวขึ้น
ภาวะความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับกะบังลม
การสะอึก
การสะอึก (Hiccups) คือ ช่วงเวลาที่กะบังลมเกิดความระคายเคือง เช่น เมื่อดื่มน้ำอัดลมจะทำให้เกิดการหดตัวภายนอกการควบคุมของจิตใจจนเกิดการสะอึกขึ้น โดยเสียงสะอึกเกิดจากการที่มีอากาศไหลออกในช่วงเดียวกับกะบังลมหดตัวนั่นเอง
รู้จักไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal Hernia)
กระบังลมเป็นอวัยวะที่กั้นอวัยวะภายในช่องอกและช่องท้องออกจากกัน ซึ่งโดยปกติจะมีช่องเล็ก ๆ ให้หลอดอาหารลอดผ่านจากทรวงอกลงสู่กระเพาะในช่องท้องเพื่อย่อยอาหาร นอกจากนี้กระบังลมยังมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหารที่อยู่บริเวณทรวงอกได้ การเกิดไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal Hernia) เป็นภาวะที่ช่องดังกล่าวมีขนาดใหญ่ขึ้น มีผลทำให้อวัยวะในช่องท้องอย่างกระเพาะอาหารส่วนบนสามารถเลื่อนขึ้นมาอยู่บริเวณทรวงอกผ่านทางช่องโหว่ของกระบังลม เมื่อเป็นไส้เลื่อนกระบังลมจึงส่งผลให้มีอาการแสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อน และอาจร้ายแรงถึงขั้นอวัยวะที่เข้าไปในทรวงอกเกิดขาดเลือด อุดตัน และมีเน่าแตกทะลุได้
อาการไส้เลื่อนกระบังลม
อาการไส้เลื่อนกระบังลมระยะแรก อาจจะไม่แสดงอาการ หรือตรวจพบจากการตรวจสุขภาพ หากไม่แสดงอาการที่ส่งผลกระทบกับร่างกาย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยส่วนมากจะมาพบแพทย์ด้วยอาการของกรดไหลย้อน โดยอาการที่พบบ่อย คือ
- แสบร้อนที่หน้าอก อาการจะรุนแรงเมื่อนอน ก้มตัว หรืองอตัว
- เรอกินเปรี้ยวในลำคอ
- สะอึกบ่อยหลังทานอาหาร
- เจ็บคอ
บางครั้งอาจจะมาด้วยอาการที่ใกล้เคียงกับโรคอื่นได้ เช่น
- หอบหืด
- ไอเรื้อรัง
- กลืนลำบาก
- เจ็บหน้าอก

ภาวะอัมพาตของกะบังลม (Paralysis of the Diaphragm)
กะบังลมสามารถเข้าสู่ภาวะอัมพาตได้ทั้งแค่บางส่วน หรือทั้งส่วนของกะบังลม ขึ้นอยู่กับการทำลายเส้นประสาทที่มาเลี้ยง ซึ่งเส้นประสาทดังกล่าวสามารถถูกทำลายได้หลายวิธี ดังนี้
- จากการมีเนื้องอกในช่องอก บริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ หรือก้านสมองไปกดทับที่เส้นประสาทเฟรนิก เช่น มะเร็งในปอด
- จากอุบัติเหตุที่ช่องปอด โดยเฉพาะในส่วนที่มีเส้นประสาทไปเลี้ยง
- จากโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น เบาหวาน กลุ่มอาการกูเลน-แบร์ (Guillain-Barre syndrome) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และโรคกล้ามเนื้อลีบ (Muscular dystrophy)
เมื่อมีด้านใดด้านหนึ่งของกะบังลมเป็นอัมพาต จะทำให้การเคลื่อนที่ของกะบังลมผิดปกติ เช่น กะบังลมเคลื่อนที่ขึ้นขณะหายใจเข้า และเคลื่อนที่ลงขณะหายใจออก ทำให้เกิดการหายใจไม่อิ่ม โดยเฉพาะในขณะนอนหลับ
อาการผิดปกติที่ควรสังเกตเวลาปวดท้อง
- โรคกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่มักแสดงอาการออกมาในลักษณะการจุกแน่นลิ้นปี่ เสียดท้อง แสบท้อง หรือปวดใต้ชายโครงซ้าย มักเป็นๆ หายๆ และแสดงอาการสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น ปวดเวลาหิว หรือปวดหลังทานอิ่ม หากมีอาการแบบนี้ไม่เกิน 2 สัปดาห์ สามารถดูแลตัวเองได้โดยการทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด การดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน และรับประทานอาหารให้ตรงเวลา แต่หากมีอาการติดต่อกันนานเกิน 1 เดือน หรือมีการอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำหรือมีเลือดปน กลืนอาหารลำบาก น้ำหนักตัวลด ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโดยละเอียด
- โรคลำไส้แปรปรวน เกิดจากภาวะที่ลำไส้บีบตัวผิดปกติ ทำให้มีอาการปวดท้อง ร่วมกับการขับถ่ายที่ผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย หรือทั้งท้องผูกและท้องเสียสลับกันไป บางรายอาจถ่ายมากผิดปกติ แต่ในขณะที่บางรายก็อาจถ่ายน้อยกว่าที่เคยเป็น โดยอาการปวดมักจะดีขึ้นหลังจากถ่ายอุจจาระ แม้เป็นโรคที่มีอาการไม่ร้ายแรง แต่หากมีการถ่ายมากจนกระทบต่อชีวิตประจำวัน ก็ควรปรึกษาแพทย์ดีกว่า
- โรคกรดไหลย้อน อาการที่เด่นชัดคือการแสบร้อนกลางอก หรือบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากมีกรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนมาสร้างความระคายเคืองให้กับทางเดินอาหาร ในบางรายอาจรู้สึกเหมือนมีก้อนอยู่ในคอ กลืนลำบาก มีอาการเจ็บคอ หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้าอาจจะมีรสขมหรือมีรสเปรี้ยวของกรดในปาก รวมทั้งอาจมีเสมหะ มีอาการระคายเคืองคออยู่ตลอดเวลา จนเกิดอาการไอเรื้อรัง ซึ่งสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการทานยาลดกรด ร่วมกับการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
- โรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ภัยร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมากกว่า 6,000 คนต่อปี ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด มะเร็งในระบบทางเดินอาหารสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะจะเสี่ยงมากขึ้นในผู้ที่บริโภคอาหารประเภทปิ้ง ย่าง หมักดอง สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ รวมทั้งผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง
ตำแหน่งต่างๆในการปวดท้อง
ปวดท้องจุดไหนบอกอะไรบ้าง
- ชายโครงขวา เป็นจุดของตับและถุงน้ำดี หากกดแล้วเจอก้อนแข็งๆ ประกอบกับอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ก็จะหมายถึง ความบกพร่องเกี่ยวกับตับหรือถุงน้ำดี ปวดมาก แนะนำควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด
- ใต้ลิ้นปี่ หรือกลางตัว บริเวณตรงซี่โครงซี่ล่างสุด (กลางตัว) หมายถึง กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ตับและกระดูกลิ้นปี่
– หากปวดเป็นประจำเวลาหิวหรืออิ่ม อาจเกี่ยวกับโรคกระเพาะ
– หากปวดรุนแรงร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน อาจเป็นอาการตับอ่อนอักเสบ
– หากคลำเจอก้อนเนื้อค่อนข้างแข็งและมีขนาดใหญ่ อาจเป็นอาการตับโต (ควรรีบปรึกษาแพทย์)
– คลำได้ก้อนสามเหลี่ยมแบนเล็กๆ อาจเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกลิ้นปี่ ควรปรึกษาแพทย์
- ปวดชายโครงขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งของม้าม แนะนำปรึกษาแพทย์ทันที
- ปวดบั้นเอวขวา โดยมากจะพบกันบ่อยในผู้หญิง ตำแหน่งนี้คือ ท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่
– อาการปวดมาก หมายถึง ลำไส้ใหญ่อักเสบ
– อาการปวดร้าวถึงต้นขา อาการเริ่มต้นของนิ่วในท่อไต
– อาการปวดร่วมกับปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น เป็นอาการของกรวยไตอักเสบ
– หากคลำเจอก้อนเนื้อ แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด
- ปวดรอบสะดือ เป็นตำแหน่งลำไส้เล็ก มักพบในคนที่มักท้องเดิน
– หากกดแล้วปวดมาก คือ อาการของโรคไส้ติ่งอักเสบ
– แต่ถ้าปวดแบบมีลมในท้องด้วย อาจแค่กระเพาะลำไส้ทำงานผิดปกติ
- ปวดบั้นนเอวซ้าย เป็นตำแหน่ง ท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่ (เหมือนข้อ 4)
- ปวดท้องน้อยขวา เป็นตำแหน่ง ไส้ติ่ง ท่อไตและปีกมดลูก
– หากปวดเกร็งเป็นระยะๆแล้วร้าวมาที่ต้นขา หมายถึง กรวยไตผิดปกติ
– ปวดเสียดตลอดเวลา กดแล้วเจ็บมาก เป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบ
– ปวดร่วมกับมีไข้สูง หนาวสั่น มีตกขาว เป็นอาการปีกมดลูกอักเสบ
– คลำแล้วเจอก้อนเนื้อ เบื้องต้นอาจเป็นก้อนไส้ติ่งหรือรังไข่ผิดปกติ
- ปวดท้องน้อย เป็นตำแหน่ง กระเพาะปัสสาวะและมดลูก
– ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะหรือถ่ายกระปริบกระปรอย เป็นอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (แต่เป็นกันน้อย)
– หากปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน เป็นอาการของคุณกำลังมีประจำเดือน
- ปวดท้องน้อยซ้าย เป็นตำแหน่ง ปีกมดลูกและท่อไต
– ปวดเกร็งเป็นระยะและร้าวมาที่ต้นขา เป็นอาการโรคนิ่วในท่อไต
– ปวดร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น ตกขาว เป็นอาการโรคมดลูกอักเสบ
– ปวดร่วมกับถ่ายอุจจาระผิดปกติ เป็นอาการโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
– คลำพบก้อนร่วมกับอาการท้องผูกเป็นประจำ เป็นอาการโรคเนื้องอกในลำไส้
Reference:
Moore, Keith (2014), Clinically Oriented Anatomy (7 ed.). Baltimore: Walters Kluwer. p. 306.
Chandrasekharan, Praveen Kumar, Rawat, Rajeshwari (2017-03-11). “Congenital Diaphragmatic hernia – a review”. Maternal Health, Neonatology and Perinatology. 3: 6. doi:10.1186/s40748-017-0045-1. ISSN 2054-958X. PMC 5356475. PMID 28331629.
Cleveland Clinic, Diaphragmatic Breathing Exercises & Techniques (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/9445-diaphragmatic-breathing), 10 September 2019.
Medical News Today, Diaphragm pain: 10 causes and how to treat it (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321956), 9 September 2019.WebMD,, What is the diaphragm’s role in breathing? (https://www.webmd.com/lung/qa/what-is-the-diaphragms-role-in-breathing), 10 September 2019.
MedicineNet, Definition of Diaphragm (muscle) (https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=2983), 12 September 2019.
The Amazing Diaphragm – Foundational Concepts
ปวดท้องจุดไหนบอกอะไรบ้าง – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (chularat3.com)