สถาบันสอนว่ายน้ำเป็นเร็วอันดับ 1 ของเมืองไทย เราพร้อมช่วยท่านว่ายน้ำเป็นเร็วภายในคอร์สเดียว สร้างพื้นฐานว่ายน้ำเพื่อไปต่อยอดกีฬาทางน้ำ ได้รับการยอมรับจากสื่อชั้นนำทั่วประเทศ ดาราหลายท่านไว้วางใจมาเรียนที่นี่ รับประกันผล 100% คุ้มค่ากับทักษะที่ท่านจะได้รับติดตัวไปตลอดชีวิต ลงทุนครั้งเดียว
ฟ้าผ่าเวลาว่ายน้ำมั้ยครับ? มีหลายท่านที่มีข้อสงสัยเวลาเรียนว่ายน้ำแล้วเกิดฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า มีคำถามต่างๆมากมายที่ตามมา อาทิเช่นจะไม่สบายหรือเป็นหวัดรึเปล่า ครูจิ้นก็ได้ตอบข้อสงสัยว่าไข้หวัดไม่เกี่ยวกับฝนเลย แต่เกี่ยวกับไวรัสในอากาศที่ติดจากเวลาไปอยู่ในหมู่ชุมชน เเต่คำถามที่สำคัญที่นักเรียนถามกันบ่อยว่า มีโอกาสจะโดนฟ้าผ่าหรือเปล่า วันนี้ครูจิ้นได้นำเสนอความจริงทางวิทยาศาสตร์มาตีเเผ่ หลังจากที่ศึกษามานานเกือบ 3 เดือน งั้นเรามาเริ่มศึกษากันเลยดีกว่า
ฟ้าผ่าคืออะไร
ดร.คมสัน เพ็ชรรักษ์ หัวหน้าห้องจำลองฟ้าผ่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายใต้เมฆฝนฟ้าคะนอง ซึ่งเมื่อก้อนเมฆเคลื่อนที่ก็จะมีลมและเกิดการเสียดสีกับโมเลกุลของหยดน้ำ และน้ำแข็งภายในก้อนเมฆ ทำให้เกิดการแตกตัวของประจุไฟฟ้า โดยประจุลบส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านล่างของก้อนเมฆ ขณะที่ประจุบวกจะอยู่ทางด้านบนของก้อนเมฆ ประเทศไทยมีฟ้าผ่า 100,000 ครั้งต่อเดือน (โดยประมาณ)
ข้อเท็จจริงของฟ้าผ่า
- ฟ้าผ่าคือการปลดปล่อยพลังงานไฟฟ้าปริมาณมหาศาล พร้อมกับแสงจ้า ตามด้วยเสียงกัมปนาทของฟ้าร้อง
- ฟ้าผ่าอาจมีความยาวได้ถึง 8 กิโลเมตร ทำให้อุณหภูมิอากาศสูงขึ้นถึง 27,200 เซลเซียส (50,000 ฟาเรนไฮต์) และมีความต่างศักย์ถึง 100,000,000 โวลท์
- ฟ้าผ่าโดยทั่วไปเกิดขึ้นใช้เวลา 1/4 วินาที และประกอบไปด้วยการปล่อยไฟฟ้าจำนวน 3-4 สาย (stroke) แต่ละสายมีอายุประมาณไม่กี่ 1/1000 วินาที
- เราอาจถูกฟ้าผ่าได้ แม้ว่าจุดศูนย์กลางพายุจะอยู่ห่างออกไปถึง 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) และท้องฟ้าเหนือหัวเรายังเป็นสีฟ้าอยู่ก็ตาม
- การใส่รองเท้ายางไม่ช่วยป้องกันคุณจากฟ้าผ่าเลย
- การพูดโทรศัพท์เป็นสาเหตุหลักหนึ่งที่ทำให้เกิดอันตรายจากฟ้าผ่าแม้ขณะอยู่ในบ้าน
- ใต้ต้นไม้สูงเป็นสถานที่หนึ่งที่อันตรายที่สุดในการหลบฟ้าผ่า
- นักวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่าฟ้าผ่าเป็นสาเหตุสำคัญของการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากมันสามารถทำให้เกิดสารประกอบ (compound) ที่พบได้ในสิ่งมีชีวิต จากธาตุ (element) ที่มีอยู่ทั่วไป
- ระบบตรวจจับฟ้าผ่าในอเมริกาพบฟ้าผ่าจากฟ้าสู่พื้นดินจำนวน 25 ล้านครั้ง จากพายุ 100,000 ครั้งในแต่ละปี
- มีการประมาณว่า เกิดฟ้าผ่าสู่โลกของเราโดยเฉลี่ย 100 ครั้ง/วินาที
- ความเสี่ยงของการถูกฟ้าผ่าในอเมริกาในแต่ละปีเท่ากับ 1 ใน 700,000 และความเสี่ยงของการถูกฟ้าผ่าในช่วงชีวิตเท่ากับ 1 ใน 3,000
- ฟ้าผ่าสามารถฆ่าคนได้ (ตามบันทึก มีคนตายจากฟ้าผ่า 3,696 คน ในอเมริกา ระหว่างปี ค.ศ.1959 – 2003) และเป็นสาเหตุของหัวใจวาย
- การบาดเจ็บจากฟ้าผ่า อาจมีตั้งแต่บาดแผลรุนแรงจากการเผาไหม้, ความเสียหายอย่างถาวรของสมอง ทำให้ความจำเสื่อม และการเปลี่ยนแปลงบุคคลิกภาพ
- คนที่ถูกฟ้าผ่าประมาณ 10% จะเสียชีวิต และ 70% จะทรมานกับผลระยะยาว
- ในอเมริกา มีคนรอดชีวิตจากฟ้าผ่าประมาณ 400 คนต่อปี
- ฟ้าผ่าไม่ได้เกิดจากพายุฟ้าคะนองเท่านั้น แต่ยังเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ, ไฟป่าที่รุนแรง, การระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์บนพื้นดิน, พายุหิมะที่รุนแรง, และ ในพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่
- นักวิทยาศาสตร์คิดว่าก้อนน้ำแข็งในเมฆเป้นตัวการสำคัญของการเกิดฟ้าผ่า ทำให้เกิดการแยกประจุไฟฟ้าออกจากกัน ผลึกน้ำแข็งที่มีประจุไฟฟ้าบวกจะยกตัวสูงขึ้นไปยังด้านบนของพายุ ส่วนผลึกน้ำแข็งและลูกเห็บที่มีประจุไฟฟ้าลบจะอยู่ด้านล่างของพายุ
ลักษณะของฟ้าผ่าทั้งหมดมี 4 แบบ ได้แก่
1. ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ ฟ้าผ่าแบบนี้เกิดมากที่สุด และทำให้เมฆเปล่งแสงกระพริบที่คนไทยเราเรียกว่า ฟ้าแลบ นั่นเอง
2. ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังอีกก้อนหนึ่ง
3. ฟ้าผ่าจากเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุออกจากก้อนเมฆจึงเรียกว่า ฟ้าผ่าแบบลบ (Negative Lightning) ซึ่งเป็นฟ้าผ่าที่อันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนพื้น โดยจะผ่าลงบริเวณ ใต้เงา ของเมฆฝนฟ้าคะนองเป็นหลัก
4. ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุบวกจากก้อนเมฆจึงเรียกว่า ฟ้าผ่าแบบบวก (Positive Lightning) สามารถผ่าได้ไกลจากก้อนเมฆได้ถึง 30 กิโลเมตร นั่นคือ แม้ท้องฟ้าเหนือศีรษะของเราจะดูปลอดโปร่ง แต่เราอาจจะถูกฟ้าผ่า (แบบบวก) ได้หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ห่างไกลออกไปในระยะ 30 กิโลเมตร อันเป็นที่มาของคำว่า ฟ้าผ่ากลางวันแสกๆ ซึ่งเป็นฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นโดยเราไม่ได้คาดคิดนั่นเอง ฟ้าผ่าแบบบวกยังอาจทำให้เกิดไฟป่าได้อีกด้วย หากในป่าบริเวณที่โดนฟ้าผ่าเกิดไฟลุกไหม้ลาม และไม่มีฝนตกลงมาดับไฟ
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น ยังถือเป็นภัยจากฟ้าผ่าอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอันตรายต่อคนได้ แต่ประชาชนกลับยังไม่ค่อยรู้จักนัก
“ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้นนั้น เป็นการปลดปล่อยประจุบวกออกจากก้อนเมฆ (ฟ้าผ่าแบบบวก) สามารถผ่าได้ไกลออกไปจากก้อนเมฆถึง 30 กิโลเมตร นั่นคือแม้ท้องฟ้าเหนือศีรษะจะดูปลอดโปร่ง แต่ก็อาจจะถูกฟ้าผ่า (แบบบวก) ได้ หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ห่างไกลออกไปราว 30 กิโลเมตร โดยฟ้าผ่าแบบบวกมักจะเกิดในช่วงท้ายของพายุฝนฟ้าคะนอง คือ หลังจากฝนที่กระหน่ำเริ่มซาลงแล้ว และแม้ว่าฟ้าผ่าแบบบวกจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก (น้อยกว่า 5% ของฟ้าผ่าทั้งหมด) แต่ก็ทรงพลังมากกว่าฟ้าผ่าแบบลบถึง 10 เท่า กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าอาจสูงถึง 300,000 แอมแปร์ และความต่างศักย์ 1 พันล้านโวลต์เลยทีเดียว อีกทั้งฟ้าผ่าแบบบวกยังอาจทำให้เกิดไฟป่าได้อีกด้วย หากในป่าบริเวณที่โดนฟ้าผ่าเกิดไฟลุกไหม้ลาม และไม่มีฝนตกลงมาดับไฟ
เรามาดูอาณุภาพของฟ้าผ่ากันครับ
ก่อนอื่นครูจิ้นขออธิบายเรื่องของโวลด์ วัตต์ เเละเเอมป์ก่อน สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจความเเตกต่างของมัน
โวลท์ (volt หรือ V) คือ หน่วยที่ใช้เรียกเพื่อบอกขนาดของแรงดันไฟฟ้าในบ้าน อาทิ 220 V หมายถึง ขนาดของแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 220 โวลท์ (ประเทศไทยก็ใช้ไฟระบบนี้)
แอมแปร์หรือแอมป์ (ampere หรือ A) คือ หน่วยที่ใช้เรียกสำหรับบอกปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้านั่นเอง อาทิ 5 A หมายถึง ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเท่ากับ 5 แอมแปร์
วัตต์ (watt หรือ W) คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ละชนิดใช้ในการทำงาน เช่น หลอดไฟ 100 วัตต์ หมายความว่า หลอดไฟดวงนี้กินไฟ 100 วัตต์ต่อชั่วโมงนั่นเอง
ไฟฟ้าจากฟ้าผ่า มีแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 100 ล้านโวลต์มีกระแสไฟฟ้าประมาณ 25-250 กิโลแอมแปร์ (KA) มีอุณหภูมิประมาณ 15,000 องศาเซลเซียส มีความเร็วประมาณ 1/10 ของความเร็วแสง สามารถวิ่งผ่านร่างกายด้วยเวลาเพียง 1/10,000-1/1,000 วินาที จึงส่งผลต่อการเต้นของหัวใจและการทำงานของระบบประสาท
สัญญาณเตือน 30/30
กฎจำกัดง่ายๆ ข้อหนึ่งเรียกว่า 30/30 ดังนี้
เลข 30 ตัวแรก มีหน่วยเป็นวินาที หมายถึง หากเห็นฟ้าแลบแล้วได้เสียงฟ้าร้องตามมาภายในเวลาไม่เกิน 30 วินาที ก็แสดงว่า เมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ใกล้เพียงพอที่ฟ้าผ่าจะทำอันตรายคุณได้ ให้หาที่หลบที่ปลอดภัยทันที
เลข 30 ตัวหลัง มีหน่วยเป็นนาที หมายถึงว่า หลังจากที่พายุฝนฟ้าคะนองหยุดลงแล้ว (ฝนหยุดและไม่มีเสียงฟ้าร้อง)คุณควรจะรออยู่ในที่หลบอีกอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้มั่นใจว่าเมฆฝนฟ้าคะนองได้ผ่านไป หรือสลายตัวไปแล้ว
อย่างลืม ฟ้าผ่าแบบบวกมักจะเกิดในช่วงท้ายของพายุฟ้าคะนอง แล้วแม้อยู่ห่างในระยะ 30 กิโลเมตรก็ยังอาจเกิดฟ้าผ่าได้
รู้หรือไม่ว่า คนเรามีความต้านทานกระเเสไฟฟ้าอยู่เท่าไหร่ (Water Resistance)
ไม่มีข้อมูลบ่งบอกที่เเน่ชัดว่าร่างกายเรามีความต้านทานกระเเสไฟฟ้าอยู่ที่กี่โอห์ม ขึ้นอยู่กับส่วนอวัยวะต่างๆที่โดนกระแสไฟฟ้า อ้างอิงกฏของโอห์ม ที่ว่า
กระแสในวงจร (Current) ขึ่นอยู่กระแสไฟฟ้า หารด้วยความต้านทานของคนเรา เมื่อคนเราตัวเปียก ความต้านทานก็จะลดลง ในสภาวะอากาศเเห้ง ร่างกายคนเรามีความต้านทานอยู่ที่ 100,000 โอห์ม เเต่เมื่อตัวเราเปียก ความต้านทานจะลดลงเหลือเพียง 1,000 โอห์ม ข้อมูลอ่างอิงมาจาก :National Institute for Occupational Safety and Health)
โอกาสที่ฟ้าผ่าตามจุดต่างๆ
จากข้อมูล US National Weather Service Science and Operations Officer Ted Funk, ใช้เวลา 35 ปีในการศึกษาพบว่า
อยู่ในน้ำ มีโอกาส 13.6% ทำให้ฟ้าผ่าถึงตาย
อยู่ที่โล่งเเจ้ง มีโอกาส 45% ทำให้ฟ้าผ่าถึงตาย
อยู่ใต้ต้นไม่ มีโอกาส 23% ทำให้ฟ้าผ่าถึงตาย
แสดงว่าอยู่ในน้ำมีโอกาสที่จะเกิดได้อันดับที่ 3 เลย
ข่าวเกี่ยวกับฟ้าผ่าในเมืองไทย
สลด ! ด.ช. ป.4 ถูกฟ้าผ่าตายต่อหน้าเพื่อนกว่า 20 คน
ตามกฏกระทรวง ฉบับที่ 47
ครูจิ้นอยากให้เราอย่ากังวลจนเกินไป เนื่องจากตามกฏกระทรวง ฉบับที่ 47 มีการเพิ่มเติมข้อความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ในข้อที่ 6 อาคารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารสาธารณะ อาคารอยู่อาศัยรวม โรงงาน สำนักงาน จำเป็นต้องติดระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า
ครูได้โทรไปสอบถามหลายบริษัทที่ขายอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคก็ไม่แนะนำให้ว่ายน้ำในขณะที่มีฝนตก เพราะถึงเเม้เราจะติดตั้งอุปกรณ์ที่ดีที่สุดเเล้ว ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าฟ้าจะไม่ผ่าลง อีกทั้งถ้าตึกข้างๆไม่ได้ติดระบบป้องกันก็มีโอกาสที่ฟ้าจะผ่าเเนวเฉียงกระทบมาที่ยังสระว่ายได้อีกด้วย
ถึงแม้ว่าระบบต่างๆที่สามารถป้องกันฟ้าผ่าได้ถูกบังคับให้ติดตั้งเเล้ว เเต่เราก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าระบบเหล่านี้ยังสมบูรณ์อยู่หรือไม่ครับ รูปแบบฟ้าผ่า ที่ครูตั้งใจศึกษาหาเวลาศึกษามานานหลายเดือนไม่สามารถที่จะทำนายพยากรณ์หรือมีทฏษฏีไหนที่รองรับเลย ฟ้าไม่จำเป็นต้องผ่าจุดที่สูงที่สุดเสมอไป ตามรูปข้างต้น
วิธีปฐมพยาบาล ผู้ถูกฟ้าผ่า
– ก่อนอื่นให้สังเกตว่า ในบริเวณที่เกิดเหตุยังมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าหรือไม่ ถ้ามี ก็ต้องทำการเคลื่อนย้ายผู้ถูกฟ้าผ่าไปยังตำแหน่งที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันตัวเราเองจากการถูฟ้าผ่า
– เราสามารถแตะต้องตัวผู้ถูกฟ้าผ่าได้ทันที เนื่องจากคนที่ถูกฟ้าผ่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหลงเหลืออยู่ในตัว ดังนั้น จึงไม่ต้องกลัวว่าเราจะถูกไฟฟ้าดูด (ต่างจากกรณีคนที่ถูกไฟฟ้าดูด)
– การปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกฟ้าผ่า จะใช้วิธีเดียวกับผู้ที่ถูกไฟฟ้าช๊อตซึ่งฝ่ายป้องกันอุบัติภัย การไฟฟ้านครหลวง ได้แนะนำวิธีปฐมพยาบาลในเอกสาร ขั้นตอนผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า โดยการทำ CPR ว่า
หากผลได้รับบาดเจ็บหมดสติไม่รู้ตัว หัวใจหยุดเต้น และไม่หายใจ ซึ่งสังเกตได้จากอาการที่เกิดขึ้น คือ ริมผีปากเขียว สีหน้าซีดเขียวคล้ำ ทรวงอกเคลื่อนไหวน้อยมากหรือไม่เคลื่อนไหว ชีพจรบริเวณคอเต้นช้าและเบามาก ถ้าหัวใจหยุดเต้นจะคล้ำชีพจรไม่พบม่านตาขยายค้างไม่หดเล็กลง หมดสติไม่รู้สึกตัว ต้องรีบทำการปฐมพยาบาลทันที เพื่อให้ปอดและหัวใจทำงาน โดยวิธีการผายปอดด้วยการให้ลมทางปาก หรือที่เรียกว่า เป่าปาก ร่วมกับนวดหัวใจ โดยวางมือตรงกึ่งกลางลิ้นปี่เล็กน้อย ถ้าทำการปฐมพยาบาลคนเดียวให้นวดหัวใจ 15 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง ถ้าทำการปฐมพยาบาลสองคน ให้นวดหัวใจ 5 ครั้งสลับกับการเป่าปาก 1 ครั้ง ก่อนนำผู้ป่วยส่งแพทย์ต่อไป
ซึ่งครูจิ้นได้ผ่านการอบรมหลักสูตรการทำ CPR จากสภากาชาติไทย เพื่อเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้
Reference
http://skeptics.stackexchange.com/questions/466/is-it-unsafe-to-swim-during-a-lightning-storm
http://news.nationalgeographic.com/news/2004/06/0623_040623_lightningfacts_2.html
http://oomloveza099.blogspot.com/
http://pantip.com/topic/30434756
http://www.atmo.arizona.edu/students/courselinks/spring13/atmo170a1s1/lecture_notes/apr22.html
https://twitter.com/severeweathereu/status/710206079628668930
http://www.allaboutcircuits.com/textbook/direct-current/chpt-3/ohms-law-again/
https://www.quora.com/What-is-the-electrical-resistance-of-human-body
สมัครเรียนว่ายน้ำ สถาบันสอนว่ายน้ำ Bangkok Swimming by ครู (krujinkrub.com)