สถาบันสอนว่ายน้ำด้วยความรัก ความเชื่อ และความหวัง ที่เดียวในไทย ว่ายไม่เป็นเรายินดีคืนค่าเรียนเต็มจำนวน เราพร้อมช่วยท่านว่ายน้ำเป็นเร็วภายในคอร์สเดียว สร้างพื้นฐานว่ายน้ำเพื่อไปต่อยอดกีฬาทางน้ำ ได้รับการยอมรับจากสื่อชั้นนำทั่วประเทศ ดาราหลายท่านไว้วางใจมาเรียนที่นี่ รับประกันผล 100% คุ้มค่ากับทักษะที่ท่านจะได้รับติดตัวไปตลอดชีวิต
โรคอ้วน น้ำหนักลงได้
อ้วน (Obesity) เป็นภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากผิดปกติหรือมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญออกไป จนทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ทำกิจกรรมต่าง ๆ ยากลำบากขึ้น สูญเสียความมั่นใจ นอนกรน ปวดข้อ ปวดหลัง ไขมันในเลือดสูง หอบหืด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไปจนถึงมะเร็งลำไส้ และโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่อาจพัฒนาตามหลังจากภาวะอ้วนได้
ภาวะ “โรคอ้วน” เกิดได้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้คนที่เสี่ยงให้เกิดโรคอ้วน เช่น
สาเหตุ
- กรรมพันธุ์ – ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งคู่ลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่อ้วนลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 40 แต่ไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุ ไม่ใช่ว่าคุณจะสิ้นโอกาสผอมหรือหุ่นดี
- นิสัยจากการรับประทานอาหาร – คนที่มีนิสัยไม่ดีในการรับประทานอาหาร หรือที่เรียกกันว่า กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลาก็ทำให้อ้วนขึ้นได้
- การไม่ออกกำลังกาย
– ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดี แต่มีการออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้ยืดเวลาความอ้วน แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดีแล้วนั่งๆ นอนๆ โดยไร้ซึ่งการยืดเส้นยืดสาย ในไม่ช้าก็จะเกิดการสะสมไขมันในร่างกาย
- อารมณ์และจิตใจ – มีบางคนที่รับประทานอาหารตามอารมณ์และจิตใจ เช่น กินอาหารเพื่อดับความโกรธแค้น กลุ้มใจ กังวลใจ บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่าอาหารทำให้ใจสงบ จึงยึดอาหารไว้เป็นสิ่งที่สร้างความสบายใจ – แต่ในทางกลับกัน บางคนที่รู้สึกเสียใจ กลุ้มใจ ก็กินอาหารไม่ได้ ถ้าในระยะเวลานานๆ ก็มีผลทำให้เกิดการขาดอาหาร ฯลฯ
- ความไม่สมดุลกับความรู้สึกอิ่ม ความหิว ความอยากอาหาร – เมื่อใดที่ความอยากกินเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้น “กินจุ” ในที่สุดก็จะทำให้เกิดความอ้วน
- เพศ – ผู้หญิงสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมากินได้ตลอดเวลา อีกทั้งผู้หญิงจะต้องตั้งครรภ์ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น เพราะต้องกินอาหารมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ และบางคนหลังจากคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงให้เท่ากับเมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้
- อายุ – เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะอ้วนก็เพิ่มขึ้น ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้พลังงานน้อยลง
- กระบวนการทางเคมีที่เกิดกับร่างกาย
- ยา – ผู้ป่วยบางโรคนั้น จะได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือใช้ยาคุมกำเนิด ก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน
- โรคบางชนิด เช่น ไฮโปไทรอยด์
โรคที่พบร่วมบ่อย
- ไขมันในเลือดสูงทำให้อ้วน
- ความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ
- โรคเบาหวาน
- โรคข้อกระดูกเสื่อม
- โรคทางระบบทางเดินหายใจ
- โรคมะเร็งบางประเภท
ความจริงของโรคอ้วน จากข่อมูลของ WHO
ความจริงข้อที่ 1โรคอ้วนทำให้สุขภาพเเย่ลง
Boss Mass Index หรือดัชนีมวลกาย สามารถวัดค่าโดยใช้ (น้ำหนัก/ส่วนสูง (ค่าเป็นเมตร) ยกกำลังสอง) ค่า BMI มากกว่า 25 ถือว่าน้ำหนักเกินปกติ เริ่มมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วน แต่ถ้าค่า BMI มากกว่า 30 มีแนวโน้มสูงที่จะเป็นโรคอ้วน
BMI | Weight status |
---|---|
Below 18.5 | ต่ำกว่าปกติ |
18.5-24.9 | ปกติ |
25.0-29.9 | น้ำหนักเกิน |
30.0 and higher | โรคอ้วน |
ความจริงข้อที่ 2 มีคนมากกว่า 1.9 พันล้านคนที่จะมีน้ำหนักมากกว่าเกินเกณฑ์ในปี 2016 มีมากกว่า 650 ล้านคนเป็นโรคอ้วน
มีคนอย่างน้อย 2.8 ล้านคนที่เสียชีวิตเพราะโรคอ้วนในเเต่ละปี โรคอ้วนได้เเพร่หลายมากเป็นจำนวน 3 เท่าในปี 1975 และปี 2016 โดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้ขนาดกลางเเละต่ำ
ความจริงข้อที่ 3 ในประชากรทั่วโลก มีเด็กก่อนวัยเรียนมีน้ำหนักเกินปกติถึง 41 ล้านคน
มีเเนวโน้มที่สูงของเด็กที่มีน้ำหนักเกินปกติจะเป็นโรคอ้วนเมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กที่มีน้ำหนักเกินมีเเนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานและโรคปัญหาทางหลอดเลือดหัวใจมากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักปกติ
ความจริงข้อที่ 4 น้ำหนักที่เกินเเละโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตทั่วโลกมากกว่าน้ำหนักที่ต่ำกว่าปกติ
ประชาชนที่อยู่ในประเทศที่มีรายได้ที่สูงถึงปานกลางทั่วโลกมีเเนวโน้มที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ
ความจริงข้อที่ 5 โรคอ้วนเป็นเป็นผลของการไม่รักษาสมดุลระหว่างการทานอาหารเข้าไปกับการใช้พลังงาน
การรับประทานอาหารที่มีไขมันและเเคลอรี่ที่มาก เเต่ออกกำลังกายน้อยนำไปสู่น้ำหนักที่เกิน
วิถีชีวิตตัวเลือก
- การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ: การรับประทานอาหารที่มีเเคลอรี่สูง อาหารที่ไม่ค่อยมีผักและผลไม้ อาหารจานด่วน เเละเครื่องดื่มที่มีเเคลอรี่สูง เช่นพวกชานมไข่มุก น้ำอัดลม ทำให้เกิดน้ำหนักที่มาก
- เครื่องดื่มที่มีเเคลอรี่: ผู้คนสามารถดื่มน้ำที่มีเเคลอรี่สูงๆโดยไม่รู้สึกถึงการอิ่มโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากมีผลอย่างมากทำให้เกิดน้ำหนักที่เกินความต้องการ
- กิจกรรมที่อยู่กับที่:ถ้าคุณมีชีวิตที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนที่ ถ้างานของคุณอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ เเท็บเล็ต จำนวนชั่วโมงในงานเหล่านั้นยิ่งมากจะทำให้มีผลต่อน้ำหนักที่มากขึ้น<
อาการโรคอ้วนที่เป็นมาตั้งเเต่กำเนิด
PWS (Prader-Willi Syndrome) หรือกลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่
สาเหตุของกลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่
โดยปกติคนเราจะมีโครโมโซมซึ่งเป็นพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะของแต่ละบุคคลทั้งหมด 23 คู่ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากพ่อ 23 โครโมโซม และจากแม่ 23 โครโมโซม โดยส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 15 ที่ได้รับมาจากบิดา ซึ่งอาจเกิดจากการที่ยีนมีความผิดปกติบางส่วนหรือผิดปกติทั้งยีน ไม่พบโครโมโซมคู่ที่ 15 จากบิดาเลย หรืออาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมแบบสุ่ม ความผิดปกติดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสมองส่วนไฮโปทาลามัสซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ควบคุมการเจริญเติบโตและความอยากอาหาร จึงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหิวตลอดเวลาแม้จะรับประทานอาหารในปริมาณมากไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ อาการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือสมองก็อาจเป็นสาเหตุของภาวะนี้ได้เช่นกัน
Cushing syndrome
Cushing syndrome
เป็นอาการของโรคเมื่อร่างกายของคุณมีฮอร์โมน Cortisol เป็นเวลายาวนาน บางครั้งเราจะเรียกโรคนี้ว่า hypercortisolism จะมีอาการปุ่มขึ้นตรงข้อศอก อาการขึ้นที่ใบหน้า มีจุดสีชมพูหรือม่วงที่ผิวหนัง อาการ Cushing Syndrom จะทำให้มีความดันเลือดที่สูง มวลกระดูกที่ลดลง ด้วย
สาเหตุ
อาจเป็นผลมาจากสาเหตุของการเพิ่มระดับ glucocorticoid ใด ๆ ไม่ว่าจะเกิดจากยาหรือกระบวนการภายใน อย่างไรก็ตามแหล่งข้อมูลบางแห่งไม่ได้พิจารณาถึงภาวะ glucocorticoid ที่เกิดจากยาในขณะที่ “กลุ่มอาการคุชชิง” ใช้แทนคำว่า “Cushingoid” เพื่ออธิบายถึงผลข้างเคียงของยาซึ่งเลียนแบบสภาพภายนอก
โรค Cushing นั้นเป็นอาการเฉพาะของ Cushing ที่เกิดจากเนื้องอกต่อมใต้สมองซึ่งนำไปสู่การผลิต ACTH ที่มากเกินไป (adrenocorticotropic ฮอร์โมน) ACTH ที่มากเกินไปจะกระตุ้นให้เยื่อหุ้มสมองต่อมหมวกไตสร้างระดับสูงของคอร์ติซอลทำให้เกิดโรคการป้องกันเกิดโรคอ้วน
- ออกกำลังกายทุกวันให้เป็นนิสัย ให้ฝึกการเดินไวหรือการว่ายน้ำเป็นประจำสับดาห์ละ 150-300 นาที เฉลี่ย 20-40 นาทีทุกวัน คนที่น้ำหนักตัวมากไม่ควรออกกำลังกายด้วยการวิ่ง เพราะจะส่งผลต่อข้อเข่า การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคนอ้วนมากที่สุดคือการว่ายน้ำ เพราะน้ำจะช่วยพยุงร่างกาย สามารถเผาผลาญพลังงานได้มาก และไม่มีผลเสียต่อข้อเข่า
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ: เน้นอาหารที่มีเเคลอรี่ต่ำ เช่นผัก ผลไม้ ธัญพืชเป็นประจำ ทานอาหารวันละ 3 มื้อจำกัดของทานเล่น ไม่ควรกินผลไม้แปรรูปอย่างมะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงกวน เพราะจะได้รับความหวานที่มากเกินไป นอกจากนี้ควรงดดื่มน้ำหวานและกาแฟ
- ระวังกับดักอาหารที่ไม่เกิดประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารพวก Buffet การทานอาหารที่มากเกินไปต่อมื้อ เวลาเราหิวเรามักจะใจร้อนรีบทานอาหารมากเกินไปในช่วงเวลานั้น
- เฝ้าดูน้ำหนักของคุณในทุกๆสับดาห์ ถ้าเราชั่งน้ำหนักตัวเองในทุกๆสับดาห์เราก็จะรู้น้ำหนักที่ขึ้นมากี่โล ยิ่งเรารู้เร็วว่าน้ำหนักมันขึ้นมาเราก็จะได้ลดเร็วไม่ปล่อยให้น้ำหนักขึ้นมากเกินไป
- ปรับวิถีชีวิตประจำวัน คนอ้วนที่ไม่มีปัญหาเรื่องข้อเข่า ควรเดินให้มากขึ้น เช่น เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ เดินขึ้นสะพานลอย เดินเข้าซอยบ้านแทนการนั่งรถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น
Reference:
- https://www.who.int/features/factfiles/obesity/en/
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/obesity/symptoms-causes/syc-20375742
- https://www.pobpad.com/%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99
- https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=4110
- https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99